จีโฟกาย.คอม

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
 
ดู: 784|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป
ซ่อนแถบด้านข้าง

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ ในชายสูงวัย

[คัดลอกลิงก์]

นายกองค์การนักศึกษา

โพสต์
7259
พลังน้ำใจ
20583
Zenny
1443124
ออนไลน์
1735 ชั่วโมง
ปัจจุบัน ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศในผู้ชายเป็นที่กล่าวถึงกันค่อนข้างกว้างขวาง ผู้ชายหลายรายขวนขวายหาฮอร์โมนทดแทนเมื่อวัยสูงขึ้น บางรายอาจจะมีความจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนจริง แต่บางรายอาจไม่มีความจำเป็น

การได้รับฮอร์โมนทดแทนโดยไม่ได้มีความรู้อาจทำให้มีอาการข้างเคียง และมีอาการไม่พึงประสงค์ติดตามมาได้ บางคนพยายามเปรียบเทียบการพร่องฮอร์โมนในเพศชายกับผู้หญิงในวัยหมดประจำ เดือน จนกระทั่งมีการเรียกผู้ชาย ที่มีวัยมากขึ้นว่า ‘ชายวัยทอง’ เช่นเดียวกับที่เรียกผู้หญิงในวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่วัยหมดประจำ เดือน ทั้งๆ ที่ปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงในเพศชายมีความแตกต่างจากในเพศหญิง แพทย์จำนวนมากจึงไม่ยอมรับและเรียกผู้ชายกลุ่มนี้ว่า ‘ชายสูงวัย’ คือมีอายุมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น แต่จะมีภาวะพร่องฮอร์โมนหรือไม่ก็ได้ ผิดกับผู้หญิงที่การหมดประจำ-เดือนเป็นสัญญาณบอกถึงฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป

อาการของผู้ชายที่มีภาวะ
พร่องฮอร์โมนเพศนี้มีความหลากหลาย ไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง อีกทั้งอาการเหล่านี้อาจเกิดจากโรคและความผิดปกติอื่นๆ ได้เช่นกัน ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง สมรรถภาพทางเพศบกพร่อง อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง อารมณ์แปรปรวน หลงลืมง่าย นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น

ฮอร์โมนเพศชาย VS ฮอร์โมนเพศหญิง

ฮอร์โมนที่ลดลงในเพศชายมีความแตกต่างจากเพศหญิง อาการต่างๆ จึงค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งอาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย คาดการณ์ว่าฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆ ลดลงร้อยละ 1-2 ต่อปีตามปริมาณที่มีอยู่เดิมหลังจากผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี โดยฮอร์โมนเพศชายที่เป็นหลักคือ ‘เทสโทสเตอโรน’ ซึ่งแหล่งที่ผลิตได้แก่ลูกอัณฑะ มีบทบาทหลักด้านพัฒนาการทางเพศ ทำให้เด็กผู้ชายเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่นมีเสียงห้าว มีหนวดเครา และมีพัฒนาการของอวัยะเพศมากขึ้น

เซลล์ในลูกอัณฑะเองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลจาก ต่อมใต้สมอง ทำให้ผลิตฮอร์โมนตามปกติ หากเซลล์ในอัณฑะไม่ตอบสนองต่อการควบคุมจากต่อมใต้สมอง ก็จะทำให้การผลิตฮอร์โมนเพศลดลง การไม่ตอบสนองต่อต่อมใต้สมองอาจเกิดการป่วยเรื้อรังได้เช่นกัน อาทิ เบาหวาน อ้วน ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ฯลฯ

ฮอร์โมนเพศชายจะมีระดับสูงขึ้น 3 ช่วง ครั้งแรกคือในครรภ์มารดา ครั้งที่ 2 คือช่วงอายุ 2-5 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่อเป็นวัยรุ่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนประมาณร้อยละ 98 จะจับกับโปรตีนในกระแสเลือด อีกร้อยละ 2 จะล่องลอยเป็นอิสระ ทำให้เซลล์ต่างๆ สามารถใช้ฮอร์โมนนี้ได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณโปรตีนที่จะจับกับฮอร์โมนก็มีมากขึ้นด้วย ทำให้ฮอร์โมนที่มีความเป็นอิสระลดลง

การวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย

อาศัยอาการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นหลัก การตรวจร่างกายโดยทั่วไปมักปกติ แต่อาการจะมีความคล้ายคลึงกับอีกหลายๆ โรค แพทย์จึงต้องซักประวัติอย่างละเอียดและแยกโรคอื่นๆ ออกไป อาการส่วนใหญ่คือมีภาวะซึมเศร้า ร่วมกับมีความต้องการและสมรรถภาพทางเพศลดลง กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง นอนไม่หลับ ความจำไม่ดี ขาดความคิดริเริ่ม อย่างไรก็ตาม อาจมีโรคอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการเช่นนี้ได้ เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ โรคจิตประสาท ภาวะซึมเศร้า โรคทางสมอง โรคทางกล้ามเนื้อ ดังนั้นหากไม่แยกโรคเหล่านี้ออกไป การรักษาอาจไม่ได้ผล หรือแก้ไขไม่ตรงจุด ทำให้อาการเลวร้ายลงได้ ส่วนการตรวจเลือดหาฮอร์โมนเพศชายเพียงตัวเดียว ไม่อาจจะบอกถึงฮอร์โมนว่ามีเพียงพอหรือไม่ การเจาะเลือดจึงต้องหาโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามวัย ด้วย นอกจากนี้ ปริมาณของฮอร์โมนยังเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาของวัน แนะนำให้ตรวจหาค่าฮอร์โมนในช่วงเช้าเพื่อให้ได้ค่าที่แน่นอน และต้องเจาะเลือดพร้อมกับค่าของโปรตีนนำไปคำนวณร่วมกับค่าอื่นๆ อีก เช่น น้ำหนัก

การรักษา

ควรให้การรักษาเมื่อมีอาการและพิสูจน์แล้วว่าพร่องฮอร์โมนจริง โดยการให้ฮอร์โมนเสริม ซึ่งมีทั้งรูปแบบการรับประทาน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือปิดที่ผิวหนัง แต่ละวิธีแตกต่างกันเรื่องการดูดซึมและการเผาผลาญที่ตับ เมื่อได้รับฮอร์โมนเสริมจะรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น กระปรี้กระ-เปร่า ความจำดี กล้ามเนื้อแข็งแรง มีความต้องการและสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคืออาการข้างเคียงและความผิดปกติ เช่น ภาวะเลือดข้นเนื่องจากการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น หากเลือดข้นมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต มีระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นโดยเฉพาะ คอเลสเตอรอล มีการเพิ่มขึ้นของค่าเลือดต่อมลูกหมากซึ่งต้องตรวจเป็นระยะ หากมีมะเร็งต่อม- ลูกหมากซ่อนอยู่จะทำให้อาการรุนแรงและโตเร็วได้ อาการข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ความผิดปกติในระบบหลอดเลือดและหัวใจ เป็นต้น

แม้การให้ฮอร์โมนเสริมในชายสูงวัยที่มีความบกพร่องของฮอร์โมนเพศ สามารถทำให้ ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องระมัดระวังและปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอนค่ะ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-4-26 18:58 , Processed in 0.091351 second(s), 25 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140301, Rev.31

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้