จีโฟกาย.คอม

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
 
ดู: 2439|ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป
ซ่อนแถบด้านข้าง

พระประวัติ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์

[คัดลอกลิงก์]

นายกองค์การนักศึกษา

โพสต์
7603
พลังน้ำใจ
40888
Zenny
206853
ออนไลน์
36627 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ   
เจ้าจอมมารดาเอมน้อย
    เจ้าจอมมารดาเอมน้อย ในรัชกาลที่ 3 ได้ให้ประสูติพระโอรส มีพระนามว่า พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์ ประสูติวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2358 และในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี และโปรดเกล้า ฯ ให้ทรงกำกับกรมช่างสิบหมู่ และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2417  
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
    พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ  ( พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 3 ) ( หลาน ) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าสาย และมีพระนามที่เรียกเล่น ๆ ในหมู่พระญาติใกล้ชิดว่า " เป๋า " เป็นพระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2406 ทรงดำรงยศเป็นหม่อมเจ้าจนถึง พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ  ได้ทรงปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณในหน้าที่อำนวยการห้องพระเครื่องต้นของเสวยคาวหวาน ส่วนตำหนักที่ประทับของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือของพระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ซึ่งในปัจจุบันตำหนักที่ประทับของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ไม่มีแล้วคาดว่าจะถูกรื้อลงเนื่องจากสภาพความชำรุดทรุดโทรมที่ยากจะซ่อมแซม
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ  
ห้องพระเครื่องต้น
   ห้องพระเครื่องต้นเป็นที่ประกอบพระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงกำกับดูแล ห้องพระเครื่องต้นมีลักษณะเป็นอาคารโถงชั้นเดียวขนาดใหญ่เดิมเป็นอาคาร 3 หลังในหมู่เดียวกัน มีหลังกลางเป็นหลังประธานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูงประมาณ 90 เซนติเมตร อีก 2 หลังเป็นเรือนบริวารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บางส่วนยกพื้นสูง 1.35 เมตร ซึ่งตอนล่างเป็นที่เก็บของ ที่มุมด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของเตาไฟและปล่องควัน ส่วนด้านหน้าและด้านหลังของเรือนประธานเป็นลานโล่งมีกำแพงเตี้ย ๆ กั้นระหว่างเรือนบริวารทั้ง 2 หลัง ตรงกลางเป็นซุ้มประตูทำเป็นแบบตะวันตก เมื่อรวมลานทั้งด้านหน้าและด้านหลังแล้วจะเป็นอาคารโถงขนาดใหญ่
ภายในห้องพระเครื่องต้น
ภายนอกห้องพระเครื่องต้น
   อาคารหลังนี้มีโครงหลังคาเป็นไม้ ตอนกลางหลังคายกโครงสร้างเป็น 2 ชั้น ทำเป็นช่องระบายอากาศ ผนังโดยทั่วไปก่ออิฐฉาบปูน เสามีบัวหัวเสาเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก อาคารหลังประธานพื้นปูด้วยหินอ่อนสีดำสลับขาวเป็นลายทแยงมุม พื้นที่ทางเดินโดยรอบปูด้วยอิฐทางตั้งเรียกว่า " อิฐตะแคง " ปูเป็นลายก้างปลา บานประตูและหน้าต่างเป็นบานไม้ลูกฟัก เปิดออก ใช้บานพับ มีขอสับ มีลูกกรงเหล็ก ( เหล็กดัด ) ที่บานหน้าต่างโดยรอบ
   พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ มีพระราชโอรส 1 พระองค์ และพระราชธิดา 3 พระองค์ รวมทั้งหมด 4 พระองค์   
สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร
   1. สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงศ์ อุภัยพงศพิสุทธิ์ วรุตโมภโตสุชาตบรมนฤนาถราชกุมาร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ประสูติวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 รวมพระชนมายุ 49 พระชันษา
สมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี
  2. สมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ประสูติวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 สิ้นพระชนม์วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2432 รวมพระชนมายุ 5 พระชันษา
สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา
   3. สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา สิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา ประสูติวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 สิ้นพระชนม์วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2467 รวมพระชนมายุ 39 พระชันษา
สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล
   4. สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ประสูติวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 ทรงเป็นพระราชธิดาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้วางพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง ได้รับการโปรดเกล้า ฯ ให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีและเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่เสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก็ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขากลับมาสู่ประเทศไทย ถึงสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล ฯ พระองค์นี้เพื่อทรงเล่าเรื่องการเสด็จอย่างละเอียดลออ ซึ่งทำให้เกิดหนังสือรวบรวมพระราชหัตถเลขาเหล่านั้นว่า ชื่อว่า " ไกลบ้าน "  หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล ฯ ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศชวา และเสด็จสิ้นพระชนม์วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2483 ณ ประเทศชวา รวมพระชนมายุ 49 พระชันษา
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ฯ
กับพระราชโอรสและพระราชธิดา ในรัชกาลที่ 5

จากซ้ายไปขวา
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ , สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา , สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร , สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล
   พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ได้ทรงกำกับราชการห้องเครื่องต้นถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตลอดรัชกาล เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับซึ่งเป็นข้าหลวงของ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ เล่าว่า  
   " เรื่องห้องเครื่องที่จริงเป็นงานที่หนักมาก เงินหลวงปีละเก้าพันบาท สำหรับใช้จ่ายในการเลี้ยงดูองครักษ์ มหาดเล็ก กรมวัง ทหารรักษาวังเวร และแขกพิเศษ ดังนั้นเงินหลวงที่ได้รับพระราชทานจึงไม่พอใช้จ่าย ต้องเอาเงินส่วนพระองค์จ่ายเพิ่มเติม เพราะว่าข้าหลวงในพระองค์ ก็กินอยู่ในห้องเครื่องต้นด้วย จึงไม่สามารถแยกออกได้ ครั่นจะขอพระราชทานเพิ่มอีกก็ทรงเกรงว่าจะได้รับคำครหาว่าโลภมาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถแยกรายจ่ายออกจากส่วนกลางได้ ดังนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยไม่กราบบังคมทูล และเมื่อเงินส่วนพระองค์ไม่พอจ่ายก็ต้องขอยืมเงินพระญาติ แต่เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทราบความดังกล่าวจึงทรงเป็นตัวตั้งตัวตีเป็นพระธุระนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทราบถึงพระเนตรพระกรรณแล้ว จึงทรงได้รับพระราชทานเงินค่าเครื่องต้นเพิ่มจนเพียงพอ "
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ (ซ้าย) และ เจ้าจอมเอื่ยม (กลาง) ถือหม้อขณะทรงกำลังเตรียมพระกระยาหารในห้องพระเครื่องต้น
   พระกระยาหารที่ทรงทำถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงทำสนองพระยุคลบาทด้วยความจงรักภักดี เช่นเดียวกับที่ทรงทำถวายพระโอรสและพระธิดา สำหรับพระองค์เองแล้วอย่างไรก็ทนได้ เสวยได้ เล่ากันว่า เมื่อคราวหนึ่งทรงซื้อเงาะ 100 ผล ราคา 100 บาท เพื่อที่จะคว้านเงาะตั้งเครื่องเสวยให้สมเด็จพระธิดาทุกพระองค์ ส่วนเครื่องเสวยของพระองค์เองไม่โปรดให้มีเงาะผลละ 1 บาท เพราะแพงเกินไป ทรงรับสั่งว่า " ขอให้ลูกให้ผัวสุขสบายก็เป็นที่พอใจแล้ว " พระกระยาหารก็เหมือนกัน ข้าวเสวยของพระองค์เองโปรดอย่างข้าวกรากร่วงพรู ( ข้าวธรรมดา ) ส่วนพระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และข้าวเสวยของสมเด็จพระธิดาทุกพระองค์ นุ่มเหมือนกันหมด  ผลไม้ก็โปรดที่จะปอกเสวยเอง ไม่ต้องคว้านเหมือนกับอย่างเครื่องต้น จนเมื่อทรงพระชราจึงทรงให้คนอื่นปอกถวายและเงาะก็เปลี่ยนมาเป็นการคว้าน ทรงพิถีพิถันในเรื่องเครื่องต้นที่จะตั้งถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างยิ่ง ต้องทั้งสะอาด ปลอดภัย สวยงาม และมีรสชาติที่อร่อยด้วย ทรงระวังรอบคอบแม้ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ทรงจัดผลไม้ทั้งผลลงในภาชนะ ถ้าจะต้องใช้ใบไม้รอง จะทรงเลือกใบไม้หรือดอกไม้ที่ทานได้ เช่น ใบเล็บครุฑ ใบมะม่วง ใบชมพู่ เพราะว่าในใบไม้บางชนิดอาจมียางหรือสิ่งที่เป็นพิษแก่มนุษย์ที่จะเข้าไปโดยไม่ทันรู้สึกตัว จึงทรงงดเว้นโดยเด็ดขาด
   นอกจากจะมีฝีพระหัตถ์ทางด้านปรุงอาหารแล้ว ยังมีอีกข้อหนึ่งที่ทรงได้รับการยกย่องมาก คือ ทรงมีความฉลาดลึกซึ้ง และทรงแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างฉับพลัน เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ เล่าไว้ว่า
    มีอยู่งานหนึ่ง ที่มีการเลี้ยงพระที่วัดเบญจมบพิตร เจ้าหน้าที่จะทำกันท่าไหนไม่ทราบ สำรับพระขาดไปหนึ่งที่ พอถึงเวลาสวดมนต์จบเจ้าหน้าที่ก็ยกสำรับพระขึ้นเทียบอาสนสงฆ์ สำหรับทรงประเคน จึงเอะอะกันขึ้นมาว่าสำรับขาดหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นก็ทรงตรัสถาม ได้ความว่าสำรับพระขาดหนึ่งที่ ก็เสด็จลุกจากพระราชอาสน์เข้ามาในม่านที่ฝ่ายในเฝ้า ( เมื่อในอดีตจะแยกกันระหว่างฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน ไม่ร่วมกันเหมือนในปัจจุบัน ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำเนินตรงไปที่ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ซึ่งกำลังยืนขึ้นรับเสด็จตามธรรมเนียม พระอิริยาบถแสดงชัดว่าทรงฉุน และมีพระราชดำรัสกับ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ว่า " สำรับพระขาด " พร้อมกันก็ทรงจับพระขนอง ( แขน ) ให้เสด็จออกไปที่อาสนสงฆ์ แต่ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงมิได้เก้อเขินงงงันแต่อย่างใด ทรงบัญชาให้เจ้าหน้าที่เอากระบะไม้เท่าจำนวนของคาวหวานจากสำรับพระที่มีอยู่ และทรงแบ่งของคาวหวานจากสำรับพระที่มีอยู่อย่างละเล็กละน้อย ใส่ฝาชามที่จัดเป็นสำรับ แล้วก็ให้เจ้าหน้าที่ยกไปตั้งถวายพระองค์สุดท้ายได้ทันเวลา นับว่าทรงมีพระปฏิภาณไวพริบที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้สำเร็จลุล่วงเป็นที่เรียบร้อย เล่ากันว่าพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ในเวลานั้นต่างพากันสรรเสริญพระปัญญาที่เฉียบแหลม  
   ในสมัยนั้นการทำอาหารเลี้ยงพระไม่ได้อยู่ในความควบคุมของห้องพระเครื่องต้น แต่เป็นหน้าที่ของ " ทรงประเคน " ซึ่งมีหน้าที่จัดของเลี้ยงพระถวาย สำรับที่ขาดไปในคราวนี้เป็นความบกพร่องของพนักงานประเคน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเผลอว่าเป็นหน้าที่ของห้องพระเครื่องต้นจึงทรงให้ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ มาแก้ปัญหา ซึ่งพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ก็รับแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปโดยไม่ทรงปริพระโอษฐ์ ( ปาก ) เลยว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ทรงประเคน
   พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงกำกับห้องพระเครื่องต้น ทรงทำที่ในพระบรมมหาราชวัง และที่พระราชวังสวนดุสิต เมื่อช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่พระราชวังสวนดุสิตเกือบจะเป็นการถาวร ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ได้สนองพระเดชพระคุณ ตลอดแผ่นดินจนสิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ ในปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักในพระราชหฤทัยว่า พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงมีความจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระชนกนาถเป็นที่สุด จึงทรงพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศให้สูงขึ้นเป็น " กรมพระ " และถวายสร้อยพระนามว่า " ปิยมหาราชปดิวรัดา " อันมีความหมายว่า พระภรรยาเจ้าที่ซื่อสัตย์ต่อพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชยิ่งนัก จึงมีพระนามเติมว่า " พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา "   
   พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ทรงประชวรด้วยพระโรคมะเร็งในช่องพระโอษฐ์ ( ปาก ) สิ้นพระชนม์ ณ พระตำหนักที่ประทับในสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงไป สรงน้ำพระศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญพระศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งนงคราญสโมสร  ในพระราชวังสวนดุสิต และในการพระราชทานเพลิงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโกศทองใหญ่อันเป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพ สมเด็จพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินี มาทรงพระศพ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในการพระราชกุศลออกพระเมรุ และในการเชิญพระศพสู่พระเมรุ ก็ดี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเลื่อนพระเกียรติยศพระศพเป็นกรณีพิเศษ ให้สมฐานะที่ทรงเป็น " ปิยมหาราชปดิวรัดา "   

ชีวิตมีขึ้นลง      อีกหน่อยปลงดับสังขาร ความสุขในวันวาน    อีกไม่นานก็จางไป วันก่อนเคยสนุก      วันนี้ทุกข์กลับพลักไส เพื่อนฝูงเคยอำไพ    บัดนี้ไร้แม้คนมอง

นายกองค์การนักศึกษา

โพสต์
439
พลังน้ำใจ
18881
Zenny
16961
ออนไลน์
2908 ชั่วโมง
คุณย่าทวดผมเคยเป็นคุณข้าหลวงในตำหนักพระวิมาดาเธอ ที่วังสวนสุนันทา  เป็นลูกมือหม่อมเจ้าหญิงสะบาย นิลรัตน์ ดูแลห้องเครื่อง ตอนหลังทูลลาออกมาแต่งงานกับคุณปู่ทวด

แสดงความคิดเห็น

มล เนื่อง นิลรัตน์ หราครับผม  โพสต์ 2014-4-29 21:00
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-4-28 15:04 , Processed in 0.084690 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140301, Rev.31

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้