จีโฟกาย.คอม

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
 
ดู: 469|ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป
ซ่อนแถบด้านข้าง

มีความสุขมากเกินไป เสี่ยงตายเร็ว!!

[คัดลอกลิงก์]
 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

  ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าการมีความสุข ที่แม้จะเป็นเรื่องดี แต่หากมีมากจนเกินไป อาจส่งผลเสียหายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

         ทั้งนี้ จากการศึกษาโดยวิเคราะห์ข้อมูลของคนในช่วงวัยเด็กตั้งแต่ปีค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) จนถึงวัยชรา แสดงให้เห็นว่า คนที่มีความร่าเริงมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตเร็วกว่าคนอื่น ๆ ที่ร่าเริงน้อยกว่าในวัยเดียวกัน

         จากผลการศึกษาระบุว่า คนเหล่านี้จะกล้าเสี่ยงมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) หรือคนที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ ซึ่งจะซึมเศร้าสลับกับร่าเริงอย่างผิดปกติ โดยชอบที่จะทำอะไรเสี่ยง ๆ ไม่คิดหน้าคิดหลัง นั่นเพราะการมีอารมณ์ร่าเริงมาก ๆ โดยเฉพาะร่าเริงแบบไม่รู้กาลเทศะ อาจทำให้คนอื่นเกิดความรู้สึกโมโห หรือหมั่นไส้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายได้ง่าย

         อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ ของการศึกษานี้ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยวารสาร "Perspectives on Psychological Science" ชี้ให้เห็นว่า ความสุขที่แท้จริงก็คือการได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนที่รักไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติสนิท และเพื่อนฝูง

         ขณะที่ ศ.จูน กรูเบอร์ หนึ่งในทีมวิจัยจากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเยล ได้กล่าวถึงผลการศึกษานี้ไว้ว่า "เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการตั้งเป้าหมาย หรือพยายามที่จะทำให้เกิดความสุขผลลัพธ์ ที่ได้มักจะไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ สิ่งที่ทำให้คนเรามีความสุขนั้นไม่ใช่เรื่องของเงินทอง หรือชื่อเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นเรื่องของความรู้สึกมีความหมายต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม"
        
         เห็นแบบนี้แล้วก็ต้องบอกว่าการมีความสุขกับสิ่งที่มีอยู่ ให้มีความพอดี ถือเป็นความสุขที่สุดที่มนุษย์อย่างเรา ๆ จะมีได้ ที่สำคัญยังทำให้คนรอบข้างได้มีความสุขตามไปได้อีกด้วย
ชินกับการถูกลืมแต่กลับไม่เคยลืมว่าเคยรักมึง
 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2011-8-22 02:23:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ชินกับการถูกลืมแต่กลับไม่เคยลืมว่าเคยรักมึง

หัวหน้าห้อง

โพสต์
1130
พลังน้ำใจ
1295
Zenny
-6
ออนไลน์
275 ชั่วโมง
คับถูกต้องคับ

แสดงความคิดเห็น

ด้วยความยินดีคับ  โพสต์ 2011-9-11 04:20
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-4-30 10:19 , Processed in 0.073839 second(s), 29 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140301, Rev.31

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้