สมัครเข้าเรียน ลงชื่อเข้าใช้
จีโฟกาย.คอม หน้าแรก

narinโปรไฟล์ของ http://www.g4guys.com/?1950 [บุ๊คมาร์ก] [คัดลอก] [RSS]

บล็อก

เรื่องน่ารู้ของกระเทียม

เข้าชม/อ่าน 670 ครั้ง2010-10-27 11:40



กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่มากด้วยคุณระโยชน์ต่อสุขภาพ และได้รับการยอมรับในบทบาททางการแพทย์มานานกว่า 5,000 ปี

เป็น พืชสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับในบทบาททางการแพทย์มานาน สามารถบริโภคได้โดยปลอดภัย โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใด ๆ ต่อร่างกาย นอกจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และการระคายเคืองกระเพาะอาหารในกรณีที่ทานในปริมาณมากเท่านั้น กระเทียม นอกจากเป็นอาหารแล้วยังถือได้ว่าเป็นอาหารสุขภาพที่คนไทยทุกคนควรภูมิใจ คุณประโยชน์ของกระเทียมทางการแพทย์ที่ควรทราบมีดังนี้คือ

1. ช่วยลดปริมาณไขมันในเส้นเลือดชนิดโคเลสเตอรอล
2. ป้องกันอาการเส้นเลือดอุดตัน โดยออกฤทธิ์ที่เกล็ดเลือดโดยตรง
3. ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้บ้าง และอาจมีที่ใช้ในรายที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่มากนัก (อ้างอิงที่ 10, 15)
4. เป็นยาฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด แม้กระทั่งเชื้อ H.PYLORI ในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อการป้องกันโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร (กำลังศึกษาเพิ่มเติม) (อ้างอิงที่ 2)
5. มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งในลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง (อ้างอิงที่ 7, 1)
6. มีหลักฐานทางระบาดวิทยาว่า สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารในคนได้ (รายงานจากประเทศจีนและอิตาลี) (รวบรวม 60 รายงาน, อ้างอิงที่ 13, 17)
7. ป้องกันการเกิดการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจโดยตรง (ทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยงของเส้นเลือดแดงใหญ่ในคน)
8. อาจออกฤทธิ์ต้านการแก่ (anti Aging) และการเกิดมะเร็ง (Anti Cancer) ในการทดลองในเซลล์เพาะเชื้อของคน

รายงาน ทางการแพทย์ที่พบว่า ลดโคเลสเตอรอลได้มีมากมาย โดยมีถึง 3 รายงานใหญ่ (อ้างอิงที่ 3, 4, 11) และวิจัยรวมรายงานย่อยอีก 1 รายงาน (อ้างอิงที่ 14)

รายงาน ทางการแพทย์ที่พิสูจน์ว่า ลดการอุดตันของเส้นเลือดโดยออกฤทธิ์ที่เกล็ดเลือดโดยตรงมีมากมายถึง 4 รายงานใหญ่ (อ้างอิงที่ 6, 8, 12, 16) และวิจัยรวมรายงานย่อยรวม 132 รายงาน (อ้างอิงที่ 5)
ขนาดของกระเทียมที่ใช้ในการวิจัยประมาณ 600-900 มก./วัน โดยจะลดโคเลสเตอรอลได้ประมาณ 12% ในเวลาประมาณ 4-12 สัปดาห์ โดยทดลองในคนถึง 7-952 คน (อ้างอิงที่ 11)
ยังไม่มีรายงานถึงความปลอดภัย ต่อการทานกระเทียมในปริมาณมากในสตรีมีครรภ์ และการทานกระเทียมเป็นอาหารเสริมสำหรับสตรีตั้งครรภ์ก็ไม่จำเป็น แต่สำหรับสตรีที่คลอดลูกและให้นมมารดาแก่ทารก มีรายงานว่า ถ้ารับประทานกระเทียมจะทำให้ทารกชอบดูดนมและดูดนานกว่าเดิม (อ้างอิงที่ 18) โดยไม่มีอันตรายใด ๆ
ในปีล่าสุดคือ 2001 ได้ยอมรับกระเทียมในบทที่ว่าด้วยการรักษาด้วย แพทย์ทางเลือก โดยยืนยันว่ากระเทียมมีงานวิจัยที่มากพอและเชื่อถือได้ว่าลดระดับไขมันใน เลือด ลดการอุดตันของเส้นเลือดจริง
ทั้งหมดนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการทดลองกระเทียมในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเราอาจจะค้นได้ในการค้นทางคอมพิวเตอร์ Medline หรือใช้ Internet ตามห้องสมุดโรงเรียนแพทย์ทั่วไป
เอกสารอ้างอิง
1. Garlic: its anticarcinogenic and antitumorigenic properties. Nutr Rev 1996;54(11 Pt 2):S82-6
2. Helicobacter pylori--in vitro susceptibility to garlic (Allium sativum) extract. Nutr Cancer 1997;27(2):118-21.
3. Effect of garlic and fish-oil supplementation on serum lipid and lipoprotein concentrations in hypercholesterolemic men. Am J Clin Nutr 1997;65(2):445-50.
4. A double-blind crossover study in moderately hypercholesterolemic men that compared the effect of aged garlic extract and placebo administration on blood lipids. Am J Clin Nutr 1996;64(6):866-70.
5. Therapeutic actions of garlic constituents. Med Res Rev 1996;16(1):111-24.
6. Effects of garlic extract on platelet aggregation: a randomized placebo-controlled double-blind study. Clin Exp Pharmacol Physiol 1995;22(6-7):414-7.
7. World Journal of Surgery. 19(4) : 621-5; discussion 625-6, 1995 Jul-Aug
8. Annals of Medicine. 27(1) : 63-5, 1995 Feb.
9. Testing garlic for possible anti-ageing effects on long-term growth characteristics, morphology and macromolecular synthesis of human fibroblasts in culture. J Ethnopharmacol 1994;43(2):125-33.
10. A meta-analysis of the effect of garlic on blood pressure. J Hypertens 1994;12(4):463-8.
11. Garlic as a lipid lowering agent--a meta-analysis. J R Coll Physicians Lond 1994;28(1):39-45.
12. Effect of garlic on platelet aggregation in patients with increased risk of juvenile ischaemic attack. Eur J Clin Pharmacol 1993;45(4):333-6.
13. Highlights of the cancer chemoprevention studies in China. Prev Med 1993;22(5):712-22.
14. Effect of garlic on total serum cholesterol. A meta-analysis. Ann Intern Med 1993;119(7 Pt 1):599-605
15. Can garlic lower blood pressure? A pilot study. Pharmacotherapy 1993;13(4):406-7
16. Effects of garlic coated tablets in peripheral arterial occlusive disease. Clin Investig 1993;71(5):383-6.
17. Garlic and its significance for the prevention of cancer in humans: a ctiritical view 60 ref. British Journal of Cancer. 67(3): 424-9, 1993 Mar.
18. The effects of repeated exposure to garlic-flavored milk on the nursling's behavior. Pediatr Res 1993;34(6):805-8.




อืม..ดีๆ ใช้ได้

อะไรก็ไม่รู้

เห็นด้วยๆ

ซึ้งจังเลย

ขำฮาตรึม

ความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)

facelist doodle วาดรูป

คุณต้องลงชื่อเข้าใช้ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครเข้าเรียน

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-5-6 05:51 , Processed in 0.030277 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140301, Rev.31

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน