ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 492|ตอบกลับ: 2

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

[คัดลอกลิงก์]

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

[คัดลอกลิงก์]
 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับมงกุฎ

ภูตะวันMoney Donate Account
 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับมงกุฎ

2011-4-18 01:14:06 | ดูโพสต์ทั้งหมด |โหมดอ่าน
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ


ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Health Plus)

          ผู้ใหญ่โดยทั่วไปต้องการเวลา 7-8 ชั่วโมง สำหรับการนอนหลับสนิท ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีอื่นใดที่จะสามารถทดแทนวิธีการนอนหลับสนิทได้ เพราะชีวเคมีในร่างกายของเราต้องการการนอนหลับอย่างเต็มที่ และการนอนหลับโดยปราศจากการรบกวนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

          แต่สังคมสมัยใหม่ทำให้ช่วยเวลาในการปฏิบัติการกิจยาวแต่ละวันยาวนานขึ้น และเปลี่ยนระบบเวลากลางวัน-กลางคืนของร่างกายเรา

          นอกจากนี้ร่างกายยังต้องรับแรงกดดันที่จะต้องมีการเรียนรู้ การเข้าสังคม การออกกำลังกายที่ การเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นการดูหนังทีวีซีรีส์เรื่องล่าสุดและการทำกิจกรรมอื่นๆ ภายในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เวลาในการนอนของเราลดลง

อาการผิดปกติของการนอนไม่หลับ

          ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ (หลังลิ้น) ระหว่างหลับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหายใจ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการการกรน ภาวะหายใจลำบาก หายใจเฮือกและสำลักกรน การตีบตันของทางเดินหายใจ ทำให้ต้องใช้แรงหายใจมากขึ้น นำไปสู่การหายใจที่ไม่สม่ำเสมอ และทำให้ผู้ป่วยไม่ได้พักผ่อนระหว่างการนอนในช่วงเวลากลางคืน

          ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับยังเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ สมาธิสั้น การสูญเสียความทรงจำ การใช้วิจารณญาณที่ผิดพลาด และการเซื่องซึมหรือง่วงนอน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดในสมอง หากไม่ได้รับการบำบัดรักษา

        
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีอาการหยุดหายใจซ้ำๆ ระหว่างการนอนหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจด้านบนถูกอุดกั้น การตีบตันของทางเดินหายใจอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ลิ้นที่มีขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อพิเศษหรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่คล้อยลงไปอุดกั้นการเปิดของทางเดินหายใจ

          การหยุดหายใจในแต่ละครั้งอาจมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 วินาที จนถึงหลายๆ นาทีและอาจจะเกิดขึ้น 5 ถึง 30 ครั้งหรือมากกว่าในแต่ละชั่วโมง การหยุดหายใจนี้จะทำให้หัวใจทำงานหนัก และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลายโรค (ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของอเมริกา (NIH), 2009)

อาการ

          กรนเสียงดังและมีลักษณะติดขัด

          หายใจเฮือกหรือสำลักกรนระหว่างนอน

          นอนหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป

อาการอย่างอื่นของภาวการณ์หยุดหายใจ ขณะนอนหลับอาจรวมถึง

          ปวดศีรษะในตอนเช้า

          ปัญหาเรื่องความจำหรือการเรียนรู้

          รู้สึกหงุดหงิด

          ไม่สามารถมีสมาธิในการทำงานได้

          อารมณ์แปรปรวนหรือมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ บางทีรู้สึกซึมเศร้า

          คอแห้งขณะตื่น

          ปวดปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน

          ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอาจความเสี่ยงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจล้มเหลวหรือทำให้อาการแย่ลง จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ และมีโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุในที่ทำงานหรือจากการขับขี่มากขึ้น (ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของอเมริกา (NIH), 2009)

ผลกระทบ

          มีการประเมินว่า ชาวอเมริกันได้รับผลกระทบจากภาวะการนอนหลับผิดปกติ อาทิ การทำงานอย่างไม่มีประสิทธิผล สูญเสียค่ารักษาพยาบาล การลาป่วย และส่งผลกระทบถึงความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สิน มีมูลคำว่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปี

          ในภาวการณ์นอนหลับผิดปกติ สถานการณ์การเกิดภาวะออกซิเจนลดลงเป็นพักๆ และในขณะเดียวกันร่างกายไม่ได้มีการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนนี้ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น และมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอรวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว

          ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่ได้รับการรักษาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเผาผลาญอาหาร (Metabolism) เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน

          การลดลงของระดับออกซิเจนในเลือดแม้เพียงในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการปวดศีรษะในตอนเช้า และมีสมาธิในการทำงานสั้นลง และยังส่งผลถึงการไม่สามารถใช้วิจารณญาณอย่างเหมาะสม ความสามารถในการเรียนรู้และความจำลดลง

          การง่วงนอนนำไปสู่ปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม รวมทั้งโรคซึมเศร้า และผู้ที่เป็นโรคนี้จะง่วงนอนมากกว่าคนปกติ 3 เท่า ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือที่ทำงานมากขึ้น

          สำนักงานความปลอดภัยบนทางหลวงแห่งชาติ (The National Highway traffic Safety Administration) ประเมินว่า การเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันประมาณ 100,000 รายในแต่ละปี โดยจากการรายงานของตำรวจอุบัติเหตุเกิดขึ้นเกิดผู้ขับขี่ที่ง่วงนอน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 รายและผู้บาดเจ็บอีกกว่า 71,000 ราย

ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยง

          ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะประสบกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับสามารถเกิดได้ทั้งในเพศชาย เพศหญิง และเด็กในทุกๆ วัย

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยทั่วไปไม่ได้ตระหนักว่าเกิดการหยุดหายใจในช่วงเวลากลางคืน

          มีการประเมินว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันกว่า 12 ล้านคนมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทำให้โรคดังกล่าวกลายเป็นโรคที่เป็นกันทั่วไป เช่นเดียวกับโรคหอบหืด

          กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ ขณะนอนหลับมีน้ำหนักมากเกินไป

          พบมากในเพศชาย

          กว่า 1 ใน 25 ชายวัยกลางคนและ 1 ใน 50 หญิงวัยกลางคนมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

          ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของเด็กและ 10 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าของผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 65 ปี มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

          พบภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้อย่างแพร่หลายในชาวแอฟริกัน อเมริกัน เอเชีย คนพื้นเมืองอเมริกันและชาว ฮิสพานิก (Hispanics) กว่าชาวผิวขาว (คอเคเซียน)

การวินิจฉัยโรค

          พูดคุยปัญหาการนอนและอาการกับแพทย์ ถ้าแพทย์สงสัยว่าคุณมีความผิดปกติด้านการนอน แพทย์จะแนะนำคุณให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนเพื่อตรวจวินิจฉัย

          การศึกษาด้านการวินิจฉัยโรคการนอนในช่วงเวลากลางคืนหรือที่เรียกว่า โพลีโซมโนแกรม (polysomnogram) หรือ (PSG) ถูกนำมาใช้ในการกำหนดชนิดและความรุนแรงของความผิดปกติของการนอนและการรักษาที่เหมาะสมจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเกิดการหยุดหายใจ การละดุ้งตื่นบ่อยครั้งระหว่างหลับและระดับออกซิเจนในเลือดมีการลดลง

การบำบัดรักษา

          การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่อง Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) เป็นวิธีการบำบัดรักษาด้วยแรงดันบวกทางเดินหายใจ (PAP) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด และเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA)

          การรักษาทำโดยการปล่อยแรงดันอากาศแบบเบาเข้าจมูกผ่านหน้ากาก

          แรงดันอากาศป้องกันการตีบตันของทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้อย่างอิสระระหว่างการนอน

          การรักษาแบบไม่ต้องต่อท่อกับเครื่องช่วยหายใจ (Noninvasive therapy) สามารถบรรเทาอาการภาวการณ์หยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นเมื่อใช้ตามคำสั่งแพทย์

วิธีการบำบัดรักษาอื่นๆ รวมถึง

          การผ่าตัด

          การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์/พฤติกรรม

ข้อดีดีของการรักษาเป็นประจำ

          ลดผลกระทบของการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ

          การใช้การบำบัดรักษาด้วยแรงดันบวกทางเดินหายใจ (PAP) ในช่วงเวลากลางคืนเป็นประจำ มีข้อดี

          พลังงานและความสนใจระหว่างวันเพิ่มขึ้น

          ความดันโลหิตลดลง

          ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอและหัวใจวายลดลง

          มีประสิทธิภาพในการทำงานทั้งที่บ้านและที่ทำงานเพิ่มขึ้น

          คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +10 Zenny +20 ย่อ เหตุผล
win1234 + 10 + 20

ดูบันทึกคะแนน

การที่เราจะรักใครใช้เวลาเพียงชั่ววัน แต่การที่จะลืมใครนั้นต้องใช้เวลาชั่วชีวิต ...

ประธานนักศึกษา

โสดๆอยู่ทางนี้

กระทู้
31
พลังน้ำใจ
3588
Zenny
18196
ออนไลน์
909 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่ม

~♥TerMRuK♥~

ประธานนักศึกษา

โสดๆอยู่ทางนี้

กระทู้
31
พลังน้ำใจ
3588
Zenny
18196
ออนไลน์
909 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่ม

2011-4-23 01:03:17 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ประธานนักศึกษา

กระทู้
154
พลังน้ำใจ
4705
Zenny
39041
ออนไลน์
345 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

TiwiT

ประธานนักศึกษา

กระทู้
154
พลังน้ำใจ
4705
Zenny
39041
ออนไลน์
345 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

2011-5-7 23:56:04 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม |


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-5-21 09:22 , Processed in 0.083200 second(s), 13 queries , File On.

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้