จีโฟกาย.คอม

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
 
ดู: 1115|ตอบกลับ: 2
ซ่อนแถบด้านข้าง

ผู้หญิงมี กิ๊ก เสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

[คัดลอกลิงก์]

นายกองค์การนักศึกษา

โพสต์
7259
พลังน้ำใจ
20583
Zenny
1442503
ออนไลน์
1735 ชั่วโมง
กิ๊ก ไม่ใช่ชู้ แต่ถ้าแฟนรู้ต้องเลิก ความสัมพันธ์ที่กลายเป็นค่านิยมของสังคมไทยทั้งชาย และหญิง บางคนหมายถึงเพื่อนต่างเพศใกล้ชิด พูดคุยให้คำปรึกษาเพื่อความสบายใจ แต่บางคนก็หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์กันด้วย
จากการสำรวจของถุงยางอนามัยดูเร็กซ์ พบว่า ชายไทยนอกใจคนรักมากเป็นอันดับ 1 คือ 54% และหญิงไทยนอกใจคนรักถึง 59% ติดอันดับ 2 ของโลกรองจากผู้หญิงประเทศไนจีเรีย
ปัจจุบันผู้หญิงไทยนิยมการมีกิ๊กมากขึ้น ซึ่งสาเหตุของการมี "กิ๊ก" คือ
คิดว่าเป็นแฟชั่นไว้อวด ตามค่านิยมปัจจุบัน ที่ใครมีกิ๊ก และรู้สึกเท่ห์ รู้สึกได้ควบคุม และเป็นผู้เลือก
ความรู้สึกผิดทางศีลธรรมของคนน้อยลง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีก็น้อยลงด้วย การจะทำอะไรที่ผิด ก็มักอ้างถึงเหตุผลเพื่อให้ตัวเองรู้สึกผิดน้อยลง
ต้องการได้รับความสนใจและปฏิบัติอย่างดีในฐานะคู่รักกัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระยะแรกๆ ซึ่งผู้หญิงจะมองหาจากชายที่เป็น "กิ๊ก"
ต้องการแก้แค้นจากการที่ถูกหลอกลวงจากผู้ชายซึ่งเขาอาจไปมีกิ๊กเป็นผู้หญิงคนอื่นเช่นกัน
ต้องการค้นหาประสบการณที่น่าตื่นเต้น
รู้สึกยังว่าแฟนคนปัจจุบัน ไม่ใช่หรือไม่ดีพอสำหรับเธอ
ปัญหาการทะเลาะ ขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่าง
การขาดความรักความอบอุ่น ไม่มีคนเอาใจใส่ในวัยเด็ก ฯลฯ
คุณเบ็ญจพร นักจิตวิทยา คลินิกเครือรพ.กล้วยน้ำไท กล่าวว่า สิ่งที่ส่งผลให้ผู้หญิงปัจจุบันในทุกอาชีพ ทุกวัย เริ่มเลียนแบบพฤติกรรมผู้ชาย คือ จีบและคบผู้ชายครั้งละหลายๆ คน เพื่อชดเชยปัญหา โดยความสัมพันธ์มักเริ่มจากการใกล้ชิด เช่น การไปเที่ยว นั่งทำงานเห็นกันทุกวัน หรือทำกิจกรรม, งานอดิเรกที่ต้องใช้เวลาด้วยกัน เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน จากการปรับทุกข์ ให้คำปรึกษา ก่อเป็นความสัมพันธ์ขึ้น ซึ่งอาจเป็นที่รู้กันในออฟฟิศ และในกลุ่มคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับ รู้จักใกล้ชิดกับสามีหรือแฟน โดยอาจมีความสัมพันธ์ทางกายร่วมด้วย
ในผู้หญิงบางคนอาจมีกิ๊กมากกว่า 1 คน เพื่อแก้เหงา แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การมีกิ๊กอาจยิ่งก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวมากขึ้น มีเรื่องคาใจไม่คุยกัน การเสียชื่อเสียง ไม่เป็นที่ยอมรับ ฯลฯ และรวมถึงโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย
นพ. ก้องศาสด์ ดีนิรันทร์ สูตินรีแพทย์ คลินิกเครือรพ.กล้วยน้ำไท กล่าวว่า โรคที่อันตรายจากการมีกิ๊กหลายคนของผู้หญิง และเกินเลยถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ จะยิ่งเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ยิ่งมีกิ๊กมาก ยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อมากขึ้น คนส่วนใหญ่คิดว่าถุงยางอนามัยป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ทุกโรค แต่ไม่ได้ป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูกที่เป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1
เชื้อเอชพีวีมีอยู่ร้อยกว่าสายพันธุ์ แต่ชนิดที่จะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมีประมาณ 15 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูก ที่เหลืออีกร้อยละ 30 เกิดจาก เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่น ซึ่งเชื้อนี้อาศัยอยู่ทั่วไปบนร่างกาย ผิวหนัง เสื้อผ้า ขน ฯลฯ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง สามารถทนความร้อนและอยู่ในที่แห้งได้ แต่ไม่ก่อเกิดโรคในผู้ชาย
การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ดี เพราะสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัส เวลามีเพศสัมพันธ์ เชื้อที่อาศัยอยู่บนอวัยวะ ผิวหนัง และขนของทั้งชายและหญิงอาจติดเข้าไปกับอวัยวะเพศชาย หรืออวัยวะเพศหญิง การมีเพศสัมพันธ์เป็นการนำเชื้อเอช พี วี จากด้านนอกเข้าไปสู่บริเวณปากมดลูก และเกิดการติดเชื้อขึ้นในบริเวณปากมดลูก ทำให้เริ่มมีการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ หรือกรณีมีแผลถลอกบริเวณเยื่อบุภายในก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน
มะเร็งปากมดลูกลดความเสี่ยงได้ โดยการรักเดียวใจเดียว หรือไม่ไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนที่มีคู่นอนหลายคน แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรรีบเข้าพบสูติ นรีแพทย์เพื่อตรวจภายในเพื่อหาเซลล์มะเร็ง ถ้าตรวจพบก่อนในระยะที่เซลล์เริ่มมีการผิดปกติ ก็สามารถรักษาได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีการป้องกันที่มากมาย โดย
ในกรณีที่คุณเคยมีกิ๊ก, กำลังมีกิ๊กถึงขึ้นมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มี หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูก และฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ HPV16, 18 ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
หากมีการติดเชื้อก่อนหน้าการฉีดก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายแล้วได้ แต่เป็นการป้องกันเชื้อใหม่ที่อาจได้รับหลังการฉีด การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ผลดี คือการฉีดเมื่ออายุประมาณ 9 ปี
การมีกิ๊กอาจเป็นเรื่องเท่ห์ และตื่นเต้นในความรู้สึก แต่ส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย และจิตใจไปตลอดชีวิต คุณอาจได้รับแค่ความสบายใจเป็นครั้งคราว ควรต้องหาทางอื่นเพื่อแก้ปัญหาจะดีกว่า และ ผู้หญิงที่เคยมีกิ๊ก อยากมีกิ๊ก และกำลังอยากมีก็ตาม ควรต้องฉีดวัคซีน ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรค

หัวหน้าห้อง

โพสต์
1804
พลังน้ำใจ
2734
Zenny
9904
ออนไลน์
447 ชั่วโมง
โพสต์ 2014-7-5 17:42:56 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ประธานนักศึกษา

โพสต์
873
พลังน้ำใจ
4385
Zenny
3659
ออนไลน์
189 ชั่วโมง
โพสต์ 2019-11-22 03:11:27 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-4-18 10:48 , Processed in 0.448432 second(s), 25 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140301, Rev.31

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้