จีโฟกาย.คอม

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
 
ดู: 751|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป
ซ่อนแถบด้านข้าง

ดาราจักร(แกแล็คซี่-galaxy)

[คัดลอกลิงก์]

หัวหน้าห้อง

โพสต์
463
พลังน้ำใจ
2089
Zenny
4169
ออนไลน์
253 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลิน

ดาราจักร (แกแล็คซี่ - galaxy)
     ดาราจักร (แกแล็คซี่ - galaxy) เป็นที่รวมของดาว กระจุกดาว เนบิวลา (nebula) ฝุ่น ก๊าซ และที่ว่าง และระบบสุริยะจะอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก โดยดาราจักจะมีลักษณะใหญ่ 3 ประการคือ ดาราจักวงรี ดาราจักรกังหัน และดาราจักอสัญฐาน
     กาแลคซีของเราหรือกาแลคซีทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณหนึ่งแสนล้านดวง ดึงดูดซึ่งกันและกัน ทำให้อยู่ในระบบเดียวกันได้ มีความหนาประมาณ 10,000 ปีแสง และมีเส้นผ่นศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง ส่วนดวงอาทิตย์ของเรา อยู่ที่แขนของกาแลคซี ห่งจากใจกลางประมาณ 30,000 ปีแสง บกาแลคซีของเราความยาวส่วนที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 75,000 ปีแสง (7.1 X 1011 km) แต่ค่าที่วัดได้จากเครืองอาจยาวมากกว่านี้ถึง 3 เท่า มีมวล 4 X 1011 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์ของเราอยู่ห่างจากศูนย์กลางกาแลคซีประมาณ 26,100 ปีแสง (2.5X1017 km)]

1. ความหมายของดาราจักร
     ดาราจักร คือ ที่รวมของดาว กระจุกดาว เนบิวลา ฝุ่น ก๊าซ และที่ว่าง โดยจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป อาณาจักรที่เราอาศัยอยู่นี้เรียกว่า อาณาจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ในปี พ.ศ. 2152 กาลิเลโอ ได้สำรวจท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ แล้วพบว่า ทางช้างเผือกประกอบด้วยดาวจำนวนมากมาย ปรากฎอยู่ใกล้กันจนไม่สามารถมองให้แยกออกจากกันได้ ภายหลังได้มีการศึกษาพบบริเวณสว่างของก๊าซและฝุ่นในอวกาศ ตลอดบริเวณที่มืดจนปิดบังแสงสว่างของดาวอื่น โดยเรียกบริเวณนั้นว่า เนบิวลาสว่างและเนบิวมืดตามลำดับ และยิ่งศึกษามากขึ้นก็พบว่าไม่สามารถประเมินรูปร่างได้ และในเอกภพจะมีจำนวนดาราจักรอยู่มากจนประมาณได้ถึง หมื่นล้านดาราจักร

     ดาราจักรช้างเผือกเป็นระบบที่แบนมาก กล่าวคือ มีความหนาน้อยเมื่อเทียบกับความกว้าง โดยที่ส่วนนูนตรงกลางประมาณ 3,500 พาร์เซก และส่วนที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณได้กับระยะที่ดวงอาทิตย์อยู่จะหนาประมาณ 1,500 พาร์เซก ในขณะที่ความกว้างของดาราจักร์ประมาณได้ถึง 50,000 พาร์เซก
      ดาราจักรจะมีดาวกว่าแสนล้านดวงและก๊าซ ฝุ่น สสารที่มากพอจะให้กำเนิดดาวได้หลายพันล้านดวง และในเอกภพนี้มีดาราจักรมากเสียจนประมาณได้อย่างชัดเจน แต่จากการเฝ้าติดตามด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่คาดไว้ว่าน่าจะมีมากกว่า 100,000,000,000 ดาราจักร (แสนล้าน) และอาจจะมีในส่วนที่ยังไม่เห็นด้วยกล้องอีกบางทีอาจจะมากกว่า ล้านล้านดาราจักรก็เป็นได้
     จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ยังพบอีกว่าดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแกนหลังของ ระบบสุริยะไม่ได้หยุดนิ่งแต่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงคาดกันว่าดาราจักรของเราไม่ได้หยุดนิ่ง แต่ดาราจักรกำลังหมุนรอบตัวเองโดยสังเกตจากรูปร่าง


2. รูปร่างของกาแลกซี่
     เอ็ดวิน ฮับเบิล ได้จำแนกรูปร่างของ กาแลกซี่ ได้เป็น 4 แบบคือ
     1. กาแลกซี่แบบรูปไข่ หรือ ทรงรี Elliptical จัดว่าเป็นรูปทรงพื้นฐานเริ่มแรก แบ่งออกได้เป็น E0 - E7 คือ E0 จะมีรูปร่างเป็นทรงกลม และยิ่งรีมากขึ้น ตัวเลขตามท้ายก็จะมากขึ้น เช่น E7 มีรูปทรงรีมากที่สุด

     2. กาแลกซี่ แบบก้นหอย หรือ รูปเกลียว Spiral ลักษณะแบบคล้ายจานสองใบประกบหากัน จะมีจุดกลางสว่าง แล้วมีแขนโค้ง 2-3 แขน ลักษณะ หมุนวนรอบแกนกลาง แบ่งย่อยออกเป็น Sa Sb Sc โดยพิจารณาจากระยะความห่างของแขน

     3.กาแลกซี่แบบกังหัน หรือรูปเกลียวแขนยาว Barred Spiral ลักษณะคล้ายแบบที่ 2 แต่มีแขนออกมาจาก แกนกลางก่อน แบ่งย่อยออกเป็น SBa SBb SBc โดยพิจารณาจากแขนที่ยาวออกมาจากแกนกลาง

     4. กาแลกซี่แบบไม่มีรูปร่าง Irregular เป็นกาแลกซี่ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เข้าใจว่าเกิดจากการกลืนกินกัน ของสองกาแลกซี่แบบ 1 ถึง 3 ที่อยู่ใกล้กัน


ตัวอย่างกาแลกซี่ที่น่าสนใจ
     M31(NGC224) หรือ กาแลกซีแอนโดรเมดร้า (Andromeda galaxy) เป็นกาแลกซี่รูปเกลียวแบบ Sb อยู่ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดร้า ตำแหน่ง RA 00:42.7 Dec +41.16 ความสว่าง 3.5 สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าในคืนฟ้ามืดสนิท หรือด้วยกล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ระยะห่างออกไป 2.2 ล้านปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 200 ล้านล้านดวง ฝ้าขวาๆด้านล่างคือ M32(NGC221) และด้านบนคือ M110(NGC205)

     Large Magellanic Cloud (LMC) หรือ กลุ่มเมฆแมคเจลแลนใหญ่ เป็นกาแลกซี่แบบไม่มีรูปร่าง อยู่ในกลุ่มดาวปลาปากดาบ(Dorado)
ตำแหน่งRA 05:23.6 Dec -69.45 ความสว่าง 0.1
สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ในประเทศไทยมองไม่เห็นเพราะอยู่ลับขอบฟ้าทางใต้ไปแล้ว เห็นได้เฉพาะประเทศแถบทางซีกโลกใต้เช่น ออสเตรเลีย เป็นกาแลกซี่เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ทางช้างเผือกมาที่สุดห่างออกไป 160,000 ปีแสง กลุ่มเมฆสีแดงด้านซ้ายคือ Tarantura Nabulae

     Small Magellanic Cloud (SMC) หรือ กลุ่มเมฆแมคเจลแลนเล็ก เป็นกาแลกซี่แบบไม่มีรูปร่างอีกหนึ่ง อยู่ในกลุ่มดาวนกทูแคน(Tucana)
ตำแหน่ง RA 00:53 Dec -72.50 ความสว่าง 2.3 อยู่ห่างออกไป 240,000 ปีแสง สามารถเห็นด้วยตาเปล่าในคืนฟ้าใส แต่ไม่เห็นในประเทศไทยเช่นกัน ภายในประกอบด้วยวัตถุกว่า 31 NGC เป็นทั้ง เนบิวล่าและกระจุกดาวเปิด ได้แก่ NGC346,NGC371

     M104(NGC4594) เป็นกาแกลซีที่สวยงามอันหนึ่ง อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) บางทีเราเรียกว่า Sombrero Galaxy เป็นกาแลกซีรูปเกลียวแบบ Sb ตำแหน่ง RA 12:40 Dec -11.37 ความสว่าง 8.3 เห็นได้จากกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น แถบสีดำที่เห็นเป็นฝุ่นผงทึบแสงที่รอบแขนกาแลกซี่

     NGC1365 เป็นกาแลกซี่เกรียวมีแขนแบบ SBb อยู่ในกลุ่มดาวเตาอบ (Fornax) ตำแหน่ง RA. 03:33.6 Dec -36.08 ความสว่าง 9.5
การอ่านทำให้คนฉลาดขึ้น แต่การเกรียน ไม่เคยมีใครเหลือรอดจนแก่ตายเลยสักคน

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-4-25 10:43 , Processed in 0.082262 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140301, Rev.31

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้