จีโฟกาย.คอม

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
 
ดู: 415|ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป
ซ่อนแถบด้านข้าง

วิกฤตินกแต้วแร้วจ่อสูญพันธุ์ พบเพียง 13 ตัว!

[คัดลอกลิงก์]

นายกองค์การนักศึกษา

โพสต์
7887
พลังน้ำใจ
19409
Zenny
105785
ออนไลน์
1750 ชั่วโมง

สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกจีโฟกาย 100%


นกแต้วแล้วท้องดำ Gurney's Pitta (Pitta gurneyi)




วิกฤตินกแต้วแร้วสำรวจพบ13ตัว! (ไทยโพสต์)



           เผย "นกแต้วแล้วท้องดำ" จ่อสูญพันธุ์ ล่าสุดพบเพียง 13 ตัวในพื้นที่ป่าที่ราบต่ำ จ.กระบี่ นักอนุรักษ์ชี้แนวโน้มประชากรนกลดลงขั้นวิกฤติ เหตุถิ่นอาศัยถูกบุกรุกทำสวนปาล์มและยางพารา กรมอุทยานแห่งชาติฯ เตรียมผนวกพื้นที่ป่าคุ้มครองนกให้มีอาณาเขตมากขึ้น พร้อมวางแผนเพาะเลี้ยงเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

           เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน มีการจัดเสวนาเรื่อง "25 ปีแห่งการค้นพบนกแต้วแล้วท้องดำ...ฤาจะสูญพันธุ์จากเมืองไทย" โดย น.ส.มะลิวัลย์ โสภา ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์นกฯ กล่าวว่า นกแต้วแล้วท้องดำถือเป็นนกประจำถิ่นที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ และจัดเป็นนกที่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 โดยถูกจัดลำดับไว้ในขั้นสูงสุดของการคุ้มครองในฐานะสัตว์ป่าสงวนแห่งชาติ ในประเทศไทยมีนก 3 ชนิดที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวน คือ นกเจ้าฟ้าสิรินธร นกกระเรียนไทย และนกแต้วแล้วท้องดำ ซึ่งตัวเลขล่าสุดกรมอุทยานแห่งชาติฯ สำรวจพบนกแต้วแล้วท้องดำ 13 ตัวเท่านั้น อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าที่ราบต่ำ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม หรือเขานอจู้จี้ จังหวัดกระบี่ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบ้านหลังสุดท้ายในโลกของนกแต้วแล้วท้องดำ

           น.ส.มะลิวัลย์กล่าวว่า การจัดเสวนาครั้งนี้ถือเป็นวันครบรอบ 25 ปีแห่งการค้นพบนกแต้วแล้วท้องดำ ซึ่งไม่ใช่การค้นพบครั้งแรกในโลกหรือในประเทศไทย แต่เป็นการค้นพบครั้งใหม่หลังจากวงการนกได้สรุปว่า นกแต้วแล้วท้องดำสูญพันธุ์ไปแล้วจากโลก จากข้อมูลองค์กรนกในประเทศอังกฤษระบุการค้นพบนกแต้วแล้วท้องดำครั้งแรกในโลกที่ประเทศพม่าเมื่อปี 2418 ก่อนจะพบในประเทศไทยในปี 2457 จากนั้นจึงสำรวจพบนกชนิดนี้แพร่กระจายตามพื้นที่ป่าดิบชื้นที่ราบต่ำทั่วภาคใต้ของไทย

           อย่างไรก็ตาม ภายหลังมีการบุกรุกพื้นที่ป่าดิบที่ราบต่ำในภาคใต้เพื่อปลูกสวนปาล์มน้ำมันและยางพารา รวมทั้งที่อยู่อาศัยมนุษย์ ทำให้ประชากรนกแต้วแล้วท้องดำลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลากว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2495-2528 ไม่มีรายงานการค้นพบนกแต้วแล้วท้องดำอีกเลย จนทำให้เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว

          "ในวันที่ 14 มิถุนายน 2529 สำรวจพบนกแต้วแล้วท้องดำอีกครั้งที่จังหวัดกระบี่ โดย ดร.ฟิลิป ราวด์ และนายอุทัย ตรีสุคนธ์ นักชีววิทยา หลังจากนั้นมีความพยายามที่จะอนุรักษ์ประชากรนกแต้วแล้วท้องดำอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร" ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์นกฯ กล่าว และว่า แนวโน้มประชากรนกแต้วแล้วท้องดำจะลดลงเรื่อย ๆ จนคาดว่าในอนาคตจะสูญพันธุ์หากไม่เริ่มอนุรักษ์อย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้

           ส่วนแนวทางอนุรักษ์นกแต้วแล้วท้องดำ น.ส.มะลิวัลย์บอกว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมป่าไม้ องค์กรอนุรักษ์และชุมชนในท้องถิ่นจะต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ เนื่องจากพื้นที่อาศัยของนกอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม และพื้นที่โดยรอบเชื่อมต่อเขตป่าสงวนแห่งชาติของกรมป่าไม้ ที่มีการบุกรุกแผ้วถางที่ดินเพื่อทำสวนปาล์มน้ำมันและยางพารา นกบางส่วนจึงไม่ได้รับการคุ้มครองในพื้นที่ป่าที่ราบต่ำ และยังการลักลอบจับไปขายเป็นสัตว์เลี้ยงอีกด้วย  

           นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการสำรวจประชากรนกแต้วแล้วท้องดำที่พบเห็นมีไม่น้อยกว่า 13 ตัว แต่ไม่เกิน 20 ตัว และมีตัวเมียเพียง 3 ตัวเท่านั้น ที่ผ่านมาได้เริ่มวางแผนการจัดการอนุรักษ์นกแต้วแล้วท้องดำโดยเริ่มจากการคุ้มครองถิ่นอาศัยของนก ในปี 2530 ได้ประกาศเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ต่อมาปี 2536 ประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม และประกาศคุ้มครองนกแต้วแล้วท้องดำให้เป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย

            การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าที่ราบต่ำและใช้ระบบลาดตระเวนแผนใหม่ เพื่อเตรียมผนวกพื้นที่ป่าที่ราบต่ำให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและมีเนื้อที่สำหรับคุ้มครองนกมากขึ้น คาดว่าจะทำได้สำเร็จภายในปี 2555 นายธีรภัทรเผย

           ส่วนแผนการฟื้นฟูประชากรนกแต้วแล้วท้องดำใช้วิธีการสำรวจพฤติกรรมนก เก็บข้อมูลทางชีววิทยานำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  สมาคมอนุรักษ์นก
ไม่เคยเสียใจสักครังกับคำว่ารัก...ถึงแม้เราไม่เคยได้เป็นแฟนใคร???
 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์
น่าเสียดยน่ะครับขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุนคราบฟ๋ม ไม่เป็นไรหรอกคับเด๋วก้อมีตัวใหม่ๆ มาแทนที่ อิอิ  โพสต์ 2011-6-16 14:44
คิดถึงคนไกล นานนักรู้ไหมที่ไกลห่าง หัวใจดวงนี้ช่างอ้างว้าง รอคอยอย่า

ลูกน้องหัวหน้าห้อง

โพสต์
463
พลังน้ำใจ
439
Zenny
4475
ออนไลน์
29 ชั่วโมง
สวย น่ารักมาก ถ้าสูญพันธุ์ไปคง่นาเสียดายแย่เลย - -

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุนคับฟ๋ม คิดเหมือนกันเลยคราบ  โพสต์ 2011-6-16 14:45
   ศาสตราจารย์เอื้ออาทร
อาจารย์พิเศษ
รุ่นถัดๆไปจะมีโอกาศได้เห็นมั้ยเนี่ย?

แสดงความคิดเห็น

น่าจะมีนะคราบแต่อาจจะไม่ได้เห็นตัวเป็นๆก้อเท่านั้นเอง ล้อเล่นนะคราบ  โพสต์ 2011-6-16 14:46
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม


ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-5-8 03:52 , Processed in 0.117864 second(s), 32 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140301, Rev.31

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้