vagon โพสต์ 2013-8-13 02:38:18

ภาวะเกร็ดเลือดสูงอันตรายหรือไม่

ภาวะเกร็ดเลือดสูงอันตรายหรือไม่

เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นเช่นโดนมีดบาดตัวเอง แต่ทันทีทันใดนั้นร่างกายของเราก็จะเริ่มซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นทันที สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ภายในเวลาไม่กี่นาที ปลายเส้นเลือดที่ขาดก็ถูกอุดให้เลือดหยุดด้วย เกล็ดเลือด (platelets) และเส้น
ใยโปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริน (fibrin) เลือดที่ออกมาอยู่ในแผลก็จะแข็งตัวกลายเป็นสะเก็ดคลุมแผลอยู่ ร่างกายเริ่มส่งเลือดมายังบริเวณบาดแผลเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดขาวที่มากับกระแสเลือดก็จะคอยฆ่าพวกเชื้อโรคที่บุกรุกเข้ามา คอยจับทำลายพวกเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ขณะเดียวกัน เซลล์ชั้นนอกสุดของผิวหนัง(epidermal cell) ก็จะแบ่งตัว และเคลื่อนที่จากขอบแผลทั้งสองข้างเข้ามาบรรจบกันใหม่ตรงกลางภายใต้สะเก็ดเลือด บาดแผลก็จะถูกคลุมด้วยชั้นเซลล์เหมือนเดิม เส้นเลือดในบริเวณนั้นจะเจริญแทงเข้ามายังบาดแผล เพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยง เซลล์ที่เรียกว่าไฟโบรบลาสต์ (fibroblast) จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างเนื้อเยื่อมาเสิรมบริเวณบาดแผลให้เต็มโดยการผลิตคอลลาเจน (collagen) ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีความเหนียว ทำให้บาดแผลมีความแข็งแรง ขณะเดียวกันไฟโบรบลาสต์จะหดตัว ทำให้บาดแผลสองข้างชิดกันเข้ามามากขึ้น ปลายเส้นประสาทที่ขาดก็ค่อยๆ สอดเข้าไปในแผลเพื่อให้ความรู้สึกบางส่วนของบริเวณนั้นกลับคืนมา เส้นเลือดต่างๆ ก็จะงอกเข้าหากันจนประสานกันเป็นร่างแหอยู่ภายในบาดแผล

ในที่สุด สะเก็ดเลือดบนแผลก็หลุดออกไป ผิวหนังก็กลับมาประสานกันเหมือนเดิม เนื้อเยื่อภายใต้นั้น ก็จะหนาแน่นไปด้วยไฟโบรบลาสต์และเส้นใยคอลลาเจนซึ่งจะค่อยๆ เรียงตัวให้อยู่
ในแนวที่รับความตึงเครียดได้ดีที่สุด เพื่อให้บาดแผลที่หายแล้ว มีความแข็งแรงเหมือนเดิม

PLATELETS เป็นชิ้นส่วนของเม็ดเลือดแดง มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงมาก ในเลือด 1 หยด จะมีเม็ดเลือดแดง 5,000,000 เซลล์ มีเกล็ดเลือดประมาณ 140,000 - 450,000 ชิ้น มีความสำคัญในการแข็งตัวของเลือดเมื่อมีแผลเพื่อป้องกันการเสีย
เลือดมากเกินไป

ค่าสูง ได้แก่ โรคของไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด
ค่าต่ำ อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน และอีกหลายๆโรค
Range ค่าปกติ : 150,000 to 400,000/mm3

เกล็ดเลือด (Platelet or Thrombocyte) หรือเศษเม็ดเลือด
แผ่นเลือดไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนของไซโตพลาสซึมที่เกิดจากไซโตพลาสซึมของเซลล์ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า เมกะคาริโอไซต์ (Magakaryocyte)ซึ้งสร้างมาจากไขกระดูกแล้วขาดเป็นชิ้นๆ เกล็ดเลือดในคนมีขนาดคล้ายเกล็ดปลา เว้าตรงกลางทั้งสองข้างคล้ายเม็ดเลือดแดงมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ไมครอน
มีอยู่ในร่างกายประมาณ 250000-35000 ชิ้นต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร มีอายุประมาณ 10 วัน เกล็ดเลือดทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด(Blood clotting)

สาเหตุของเกร็ดเลือดสูงมากๆ ส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมที่ไขกระดูกมีการสร้างเกร็ดเลือดออกมาเป็นจำนวนมาก คงไม่น่าจะเป็นโรคอะไรร้ายแรง แต่คงต้องพบแพทย์ให้สั่งยา เช่น Hydrea เพื่อลดการทำงานของเกร็ดเลือดให้น้อยลง เพราะเกร็ดเลือดสูงสามารถทำให้มึนงงเวียนหัวได้ ตอนเข้านอนก็ให้นอนโดยไม่ต้องใช้หมอนก็ได้เพื่อเลือดจะได้ไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น

คนที่เกร็ดเลือดมากแบบนี้สมองจะได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่ค่อยพอ ดังนั้นผลกระทบคือสมองอาจขาดความสามารถในการทำงานให้สมบูรณ์ได้ เช่น ขี้หลงขี้ลืมง่าย มึนศีรษะบ่อย การตัดสินใจอาจช้าลงเพราะสมองมีเลือดไปเลี้ยงน้อยเกินไปในบางครั้งเพราะเลือดมีความหนืดสูงนั่นเอง

แนะนำให้กินน้ำมันปลาหรือ Fish oil ร่วมด้วยวันละ 2000 มิลลิกรัม และเลซิตินหลังอาหารทุกมื้อ เพราะ Fish oil จะมาจากปลาแซลมอนแท้ๆมีคุณภาพสูง และเลซิตินก็สกัดมาจากถั่วเหลืองมีความบริสุทธิ์สูงและไม่มีสิ่งปลอมปนแน่นอน ให้กินน้ำมันปลาเช้า 2 เม็ด และเย็น 2 เม็ด พร้อมกับเลซิตินเช้า 2 และเย็น 2 เช่นกันตอนหลังอาหาร กินได้ตลอดชีวิตโดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ กินร่วมกับยา Hydrea ก็ได้ไม่มีอันตราย

พยายามดื่มนี้มากๆและบ่อยๆเพื่อช่วยให้น้ำเข้าไปหมุนเวียนในระบบเลือดมากขึ้นแล้วคุณจะรู้สึกสดชื่นขึ้น ระวังโรคแทรกซ้อนที่มาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่ให้พลังงานสูงทั้งหลาย ควรระวังเรื่องน้ำหนักตัวเกินถ้าเกินให้รีบลดน้ำหนัก อย่าปล่อยไว้เพราะความอ้วนจะเป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย โดยเฉพาะควรหลีกเลี่ยงอย่าให้มีโรคเกี่ยวกับสมอง ได้แก่ ไมเกรน ไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เพราะจะมีผลต่อการทำงานของสมองมากกว่าคนที่มีเกร็ดเลือดปกติ และสุดท้ายให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีทุกวัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.hemophiliathai.com/2011/12/blog-post_14.html
http://cherub2cherish.exteen.com/20080228/entry



https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/1146608_702188319808044_485831836_n.jpg



kopiko68 โพสต์ 2013-8-13 08:40:23

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ภาวะเกร็ดเลือดสูงอันตรายหรือไม่