Medmayom โพสต์ 2012-5-17 21:29:39

ห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ : หัวใจป่าตะวันตก รูปสวยๆมากมาย


ห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ : หัวใจป่าตะวันตก (มาทำความรู้จักกัน)http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB02.jpgประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร มีป่าเขตร้อนเหลือราวร้อยละ 20 ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบเขตร้อน (Seasonal Tropical Forest) กับป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) ในภาคใต้พื้นที่ป่าส่วนใหญ่แม้จะได้รับการจัดตั้งเป็นเขตอนุรักษ์ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว ทว่าก็อยู่อย่างกระจัดกระจาย ไม่รวมเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่จะเอื้อให้การอนุรักษ์ระบบนิเวศเป็นไปอย่างถาวรhttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB03.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB04.jpgป่าตะวันตก เป็นป่าผืนสุดท้ายของประเทศไทยที่มีพื้นที่กว้างขวาง ใหญ่โตเพียงพอสำหรับเกื้อกูลให้ระบบนิเวศน์ยังคงทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยคุณลักษณะเฉพาะ 3 ประการ คือ ตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมทางชีวะภูมิศาสตร์ ศักยภาพของความเป็นป่าผืนใหญ่ และความหลากหลายของระบบนิเวศน์อันเป็นถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตผืนป่าตะวันตกครอบคลุมป่าอนุรักษ์ 7 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติ 11 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง มีเนื้อที่รวมประมาณ 18,730 ตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านไร่) อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรีผืนป่าตะวันตกตั้งอยู่ในแนวของเทือกเขาถนนธงชัยที่ต่อเนื่องมาจากที่ราบสูงในประเทศพม่า และพาดไปจรดกับตอนเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยังคงรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ประจำถิ่นไว้ได้เกือบทั้งหมด อาจมีแรดและอีแร้งเท่านั้นที่สูญพันธุ์ไปแล้ว … ที่สำคัญผืนป่าตะวันตกยังเป็นต้นสายของมวลน้ำธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตผ่านแม่น้ำ 3 สายหลัก ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำสาละวินhttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB05.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB06.jpgภายในผืนป่าตะวันตกเราสามารถพบป่าเขตร้อนได้เกือบทุกประเภทที่เกิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าสน ป่าไผ่ และทุ่งหญ้า http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB15.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB16.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB17.jpg
** ภาพเสือดาว กวาง และพังพอนกินปู : เอื้อเฟื้อโดย น้องป่าน **นอกจากนี้ผืนป่าตะวันตกยังเป็นแหล่งรักษาสมดุลสภาพภูมิอากาศ เป็นป่าต้นน้ำที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้แหล่งน้ำบนดินและใต้ดินมีตลอดเวลาทั้งปี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติขนาดใหญ่ อันเป็นของขวัญจากธรรมชาติที่มีคุณอนันต์ต่อมนุษย์ผืนป่าตะวันตกเปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ … ด้วยที่ลักษณะและที่ตั้งที่อยู่ในรอยต่อของเขตชีวะภูมิศาสตร์ 3 เขตย่อย ทำให้เราสามารถพบเห็นสัตว์ป่าที่มีถิ่นอาศัยในเขตซุนด้า (Sundiac Species) เช่น สมเสร็จและนกเงือกหัวหงอก พันธุ์สัตว์ป่าในเขตซิโน-หิมาลายา (Sino-Himalaya Species) เช่นนกแว่นถิ่นเหนือและนกเงือกคอแดง และสัตว์ป่าในเขตอินโด-ไชนีส (Indochinese Species) เช่นไก่ฟ้าพญาลอและเก้งหม้อ … ดังนั้นพันธุ์พืชและสัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตกจึงเป็นชุมทางสิ่งมีชีวิตที่เปี่ยมคุณค่าอนันต์http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB01.jpgห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ : หัวใจป่าตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก และเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเนื้อที่กว่า 4 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี กาญจนบุรี และตากห้วยขาแข้ง … ได้รับการสำรวจครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2506 เนื่องจากเป็นป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และอาจจะเป็นที่อยู่แหล่งสุดท้ายของควายป่าที่เชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ช่วงเวลานั้นห้วยขาแข้งก็ยังไม่ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต่อมาในปี พ.ศ.2515 กรมป่าไม้ได้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าอีกครั้ง และนำภาพควายป่ามายืนยันความสำคัญ … ห้วยขาแข้งจึงได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลังจากนั้นอีก 20 ปี ได้มีการผนวกป่าทางตอนใต้ของห้วยขาแข้งเพิ่ม ทำให้มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นเป็น 2,780 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำของลำห้วยสายหลัก คือ ลำน้ำห้วยขาแข้ง ซึ่งมีความยาวราว 100 กิโลเมตร พากผ่านจากเหนือลงใต้ มีน้ำไหลผ่านตลอดปี ตามสบห้วยจากลำน้ำสายใหญ่ๆหลายสายที่มาบรรจบกับลำห้วยขาแข้งก่อให้เกิดที่ลุ่มกว้างใหญ่ริมห้วยหลายแห่งด้วยลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน พื้นที่มีสันเขาต่อเนื่องสองข้างขนานไปกับลำห้วยขาแข้ง ผสมผสานกับความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ปริมาณความชื้น … ทำให้ป่าห้วยขาแข้งเป็นศูนย์รวมระบบนิเวศน์ป่าไม้ที่มีความหลากหลาย จึงมีสัตว์ป่ากระจายถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือและจากตอนใต้ที่กระจายขึ้นมาอยู่ในบริเวณนี้http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB07.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB08.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB09.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB10.jpgทุ่งใหญ่นเรศวร … ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของเทือกเขาถนนธงชัย ทิวเขาส่วนใหญ่พาดจากเหนือลงใต้ ตอนกลางของพื้นที่แผ่กว้างเป็นที่ราบสูง เช่น ทุ่งเซซาโว่ ทุ่งใหญ่นเรศวร … สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งสิ่งมีชีวิตในป่าแห่งนี้มีการปรับตัวจนสามารถทนต่อไฟป่าที่เกิดขึ้นอยู่เสมอได้ทุ่งใหญ่นเรศวร ได้รับการสำรวจฝนระหว่างที่มีการผลักดันให้ห้วยขาแข้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (พ.ศ.2510-2511) และเนื่องจากทุ่งใหญ่ฯ เป็นผ่าผืนใหญ่ที่อยู่ติดกันซึ่งพบว่ามีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุมมาก จึงเสนอให้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีกแห่งหนึ่ง และในปี พ.ศ.2517 ทุ่งใหญ่ฯ ได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์ฯ บนเนื้อที่ราว 2 ล้านไร่ต่อมาในปี พ.ศ.2534 ได้รวมป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโจนบางส่วนที่ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติที่ยังหลงเหลืออยู่ทางตอนใต้ของทุ่งใหญ่ (ส่วนที่เหลือจากการการเปิดสัมปทานเหมืองแร่ และป่าไม้) ทำให้ทุ่งใหญ่ฯมีพื้นที่ป่ารวมทั้งสิ้น 1.28 ล้านไร่ และทำให้ทุ่งใหญ่ฯกลายเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และเมื่อรวมกับห้วยขาแข้งที่มีพื้นที่ติดต่อกัน ประเทศไทยจึงมีป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ที่ดีที่สุดของประเทศและภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB18.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB19.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB20.jpg** ภาพวัวแดง หมาจิ้งจอก และหมาไน : เอื้อเฟื้อโดย น้องป่าน **ห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ฯ มีป่าที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์และถูกรบกวนน้อยจากมนุษย์ โดยเฉพาะทางด้านตะวันตก ที่นี่จึงเป็นสวรรค์สำหรับสัตว์ป่า … เชื่อกันว่า มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ราว 55 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 33 ของสัตว์ที่มีถิ่นกระจายในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ และร้อยละ 55 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย จนอาจกล่าวได้ว่ามากกว่าครึ่งของสัตว์ป่าที่พบในเมืองไทยอาศัยอยู่ในผืนป่าตะวันตกในจำนวนนี้มีสัตว์ป่าหายาก เช่น ช้าง เสือ วัวแดง นกยูงไทย เป็นต้น รวมถึงสัตว์ป่าสงวนอีก 6 ชนิด คือ ควายป่า (พบที่ลำห้วยขาแข้งตอนล่างเพียงแห่งเดียว และคาดว่ามีราว 50 ตัวเท่านั้น) สมเสร็จ เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน เลียงผา และกวางผาเนื่องจากผืนป่าทั้ง 2 แห่งที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน มิได้ถูกแบ่งหั้นด้วยเส้นสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้น … ทำให้สัตว์ป่าสามารถโยกย้ายถิ่นอาศัยและแหล่งอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่เช่น ช้าง ซึ่งมีประชากรจำนวนมากhttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB11.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB12.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB13.jpgห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ฯถูกรายล้อมด้วยพื้นที่ป่าอนุรักษ์เกือบทุกด้าน ผืนป่าทั้งสองจึงเปรียบเสมือนเป็น “หัวใจของป่าตะวันตก” ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าในการศึกษาวิจัยเรื่องของสัตว์ป่าและระบบนิเวศน์ … ในปี พ.ศ.2519 จึงได้มีการก่อตั้งสถานีวิจัยสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่บริเวณเขานางรำ เพื่อผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องสัตว์ป่าและธรรมชาติhttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengA02.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengA03.jpgในคืนที่อากาศรุ่มร้อน แห้งแล้งในป่าห้วยขาแข้ง … ทำให้อดคิดถึงคนๆหนึ่งที่ทำให้ห้วยขาแข้งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป … สืบ นาคะเสถียร … วีระบุรุษแห่งพงไพรสืบ นาคะเสถียร … ก่อนที่เขาจะมาเป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขาเคยมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการสร้างเขื่อนน้ำโจนในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และต่อต้านการที่บริษัทไม้อัดไทยจะขอสัมปทานทำไม้ในป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งมีควายป่าอาศัยอยู่ … ครั้งนั้นชาวอุทัยธานีที่ต่างเห็นคุณค่าของป่าห้วยขาแข้ง ออกมาช่วยกันรวมพลังคัดค้าน และในช่วงนั้นเองมีเหตุการณ์ซุงถล่มที่อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี มึคนตายและบาดเจ็บมากมาย ซึ่งเป็นผลจากการตัดไม้ กรมป่าไม้จึงยกเลิกสัมปทานการทำป่าไม่ทั่วประเทศ … รวมถึงป่าที่ห้วยขาแข้งเมื่อ สืบ นาคะเสถียร เข้ามาเป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในปี พ.ศ.2532 เขาพบความจริงจากป่านี้มากมาย รวมถึงเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ทำงานหนัก รายได้น้อยนิด และมีความตายยืนรออยู่จากกลุ่มพวกตัดไม้-ล่าสัตว์ ... หลุมศพที่ถูกติดชื่อเป็นอนุสาวรีย์เพิ่มขึ้นทุกปีในห้วยขาแข้งงานชิ้นสำคัญที่สุด นอกจากปกป้องป่าและสัตว์ป่าของสืบ ก็คือ การผลักดันให้เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก เขาเก็บข้อมูลต่างๆรายงานต่อยูเนสโก และประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาปัญหาหนักในห้วยขาแข้งยังไม่ได้รับการแก้ไข … เขาใช้วิธีที่จะทำให้ทุกคนได้ยินถึงปัญหาด้วยการเอาชีวิตเข้าแลก ในเวลาตีสี่ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 นับเป็นการเสียชีวิตที่ยิ่งใหญ่ของคนๆหนึ่ง แต่การเสียชีวิตของสืบ ทำให้ใครๆหันมาดูห้วยขาแข้งอย่าสงจริงจังจนทุกวันนี้… เสือดำ เสือโคร่ง เสือดาว กระทิง ช้าง และสัตว์ป่าอีกมากมาย อาจจะไม่อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ หากสืบไม่ยอมตายในวันนั้น …
http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB25.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB38.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB37.jpg

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB26.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB27.jpghttp://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/National%20Park%20and%20Wildlife%20Sanctuary%20of%20Thailand/Huay%20Khakaeng%20Wildlife%20Sanctuary/Huay_KhakaengB28.jpgสายหมอกลอยเรี่ยคลอเคลียอยู่เหนือยอดไม้ที่มีภูเขาสูงเป็นฉากหลังที่งดงาม … เสียงไก่ป่าขันเจื้อยแจ้วจากชายป่าโหมโรงมาตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่างดี เปิดฉากเวทีธรรมชาติที่บรรดาสรรพสัตว์โลดแล่นไปตามวัฏจักร .. แดดเช้ายังสาดทอผืนโลกด้วยแสงอันอ่อนละมุน ... นกขมิ้นหัวดำใหญ่บินมาเกาะที่ต้นไม้ใกล้ๆระเบียงที่พัก ตามติดมาด้วยนกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง … บนต้นไม้ใหญ่ เจ้านกหัวขวานสามนิ้วหลังทองบินมาเกาะมาเมียงๆมองๆ เป็นภาพที่ดูเลือนลางอยู่บ้าง แต่แจ่มชัดในความทรงจำที่นี่ เราสามารถจะพบเห็นนกหัวขวานได้หลายขนิด ทั้งนกหัวขวานใหญ่ นกหัวขวานใหญ่สีเทา หัวขวานเขียวตะโพกแดง หัวขวานเล็กหงอนเหลือง และหัวขวานอีกหลายชนิด**** Hidden Message *****----------------------------------NO DAM … ช่วงเวลาที่ผ่านมา คุณค่าของผืนป่าตะวันตกได้ถูกลดทอนอย่างมากด้วยโครงการต่างๆ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ถนนที่ตัดผ่านพื้นที่ป่า และการตั้งถิ่นฐานของผู้คน … และในช่วงเวลาปัจจุบัน การริเริ่มจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ ที่มีหลายคนเขียนถึงในหลายแง่มุมมาแล้วหากเราเห็นความสำคัญของการดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวะภาพและสมดุลของธรรมชาติสูงสุดของพื้นที่แห่งนี้ … คำตอบที่ยั่งยืนคงหนีไม่พ้นที่จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้ผืนป่าถูกแบ่งแยกออกเป็นหย่อมเล็ก หย่อมน้อย จนกลายเหมือนเกาะแก่งที่เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า … ควรต้องมีการใช้นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง เพื่อคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ในรูปแบบของความสมดุลทางระบบนิเวศน์ ด้วยการจัดการระบบนิเวศน์อย่างเป็นเอกภาพ … การบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียม … การปกป้องอย่างมีส่วนร่วมด้วยระบบป่ากันชน ป่าชุมชน … ท้ายที่สุด เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องร่วมกันดูแลป่านี้ให้คงอยู่ ดังเช่นที่ดวงวิญญาณของผู้พิทักษ์ป่าและสัตว์ป่าได้เคยทำมาแล้วในอดีต … มิฉะนั้นแล้ว มหันตภัยจากธรรมชาติที่เราประสบจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจจะมากอย่างที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นไปได้ช่วยกันรณรงค์ไม่เอาเขื่อนในผืนป่าตะวันตกนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนแม่วงก์ หรือเขื่อนไหนๆ มนุษย์มีทางเลือกอื่นอีกมากมายในการจัดการเรื่องน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือแม้แต่การทำมาหากิน ... เหลือผืนป่าตะวันตกเอาไว้เป็น “บ้านของสรรพชีวิตในป่า” นะคะขอบคุณ : ภาพประกอบมากมายจาก “น้องป่าน” และข้อมูลบางส่วนจากนิตยสาร Nature ExplorerPosted by Supawan Blog OK Nation
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ : หัวใจป่าตะวันตก รูปสวยๆมากมาย